Bookmark and Share

สนุก ! ความรู้

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รมช.เกษตรชงครม.ของบฯเพิ่มเป็น 8 พันล้าน ปลูกยางเฟส 2 อ้างปรับเงื่อนไขแจกปุ๋ยฟรี 7 ปี "สุเทพ"ไฟเขียวแล้ว


ศุภชัย โพธิ์สุ

วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เวลา 04:26:05 น.  มติชนออนไลน์

รมช.เกษตรชงครม.ของบฯเพิ่มเป็น8พันล้าน ปลูกยางเฟส2 อ้างปรับเงื่อนไขแจกปุ๋ยฟรี7ปี "สุเทพ"ไฟเขียวแล้ว

รมช.เกษตรฯเตรียมขอเพิ่มงบฯปลูกยางพาราเฟส 2 จาก 3.9 พันล้านเป็น 8 พันล้าน อ้างปรับเงื่อนไขแจกปุ๋ยฟรีจาก 3 ปีเป็น 7 ปี พร้อมช่วยค่าแรงช่วงเพาะปลูกให้เกษตรกรยากจน ดันเข้า ครม.อีกครั้ง เล็งใช้เงินกู้จากธกส.

 


นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย"มติชน" เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ร่วมหารือกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี หารือถึงแนวทางการดำเนินงานโครงการขยายพื้นปลูกยางพารา ระยะที่ 2 จำนวน 800,000 ไร่ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ซึ่งทุกคนมีความเห็นร่วมกันที่จะผลักดันการดำเนินงานโครงการนี้ ให้เกิดขึ้นภายในรัฐบาลชุดนี้ให้ได้ เพราะเห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่มีฐานะยากจนให้ลืมตาอ้าปากได้จากการปลูกยาง ซึ่งให้ผลผลิตตอบแทนสูงคุ้มค่ากับการลงทุน


"สำหรับรูปแบบการดำเนินงานโครงการ ยังกำหนดจำนวนเป้าหมายเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการไว้เหมือนเดิม คือ จำนวน 80,000-160,000 ราย แบ่งเป็นพื้นที่ภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ 150,000 ไร่ โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่เคยปลูกยางมาก่อน และมีที่ดินประมาณ 2-15 ไร่ โดยรัฐบาลจะสนับสนุนต้นกล้ายางให้ 90 ต้นต่อไร่" นายศุภชัยกล่าว


นายศุภชัยกล่าวว่า เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นการเพาะปลูกในปีแรก ไปจนถึงสามารถกรีดยางได้ในช่วงปีที่ 7 นอกเหนือจากจัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในทุกช่วงเวลาของการเพาะปลูกแล้ว ในส่วนของปัจจัยการผลิตที่สำคัญ คือ ปุ๋ย ซึ่งแจกฟรีให้แก่เกษตรกรจะมีการเพิ่มจำนวนให้เหมาะสมกับการเพาะปลูก จากเดิมกำหนดให้แจกจ่ายเพียง 3 ปี จะเพิ่มมาเป็น 7 ปี และในช่วงการเพาะปลูกจะมีการจ่ายเงินช่วยเหลือค่าแรงในการปลูกให้กับเกษตรกร ที่เข้าร่วมโครงการ ไร่ละประมาณ 3,000 กว่าบาทด้วย


"เหตุผลที่เราปรับเพิ่มเงื่อนไขการช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้าร่วม โครงการ เป็นเพราะเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายจะต้องเป็นเกษตรกรที่มีฐานะยากจน และไม่เคยปลูกยางมาก่อน ดังนั้น จะต้องได้รับการดูแลมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้เรื่องการเพาะปลูก ปัจจัยการผลิต รวมถึงการให้เงินช่วยเหลือ เพื่อให้กล้ายางที่เกษตรกรรับไปปลูกมีปัญหาเกิดขึ้นน้อยที่สุด" รัฐมนตรีช่วยฯเกษตรฯระบุ


นายศุภชัยกล่าวว่า ผลจากการปรับปรุงเงื่อนไขการดำเนินงานเพิ่มเติมเหล่านี้ จะทำให้ตัวเลขงบประมาณที่จะนำมาใช้ในโครงการมีจำนวนสูงขึ้น จากตัวเลขเดิมที่ได้รับอนุมัติจาก ครม.มาแล้ว 3,900 ล้านบาท เพิ่มเป็น 8,000 ล้านบาท ทำให้จะต้องมีการนำเสนอรายละเอียดส่วนนี้กลับเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ ในส่วนที่มาของงบประมาณที่จะนำมาใช้ขณะนี้มีความชัดเจนแล้วว่าจะใช้วิธีการ กู้เงิน เนื่องจากได้รับแจ้งจากการคลังว่างบกลางปีนี้ถูกจัดสรรไปหมดแล้ว โดยเบื้องต้นกระทรวงการคลังจะทำเรื่องขอกู้เงินโดยผ่านธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ  


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบมติ ครม. เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม ที่อนุมัติให้ดำเนินงานโครงการขยายพื้นที่เพาะปลูกยางดังกล่าว ปรากฏว่า ไม่ได้ระบุว่ามีค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกรในการเพาะปลูกยางแต่อย่างใด โดยงบประมาณที่เสนอเข้ามา ทั้งหมด 3,974.56 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าพันธุ์ยาง และปุ๋ย ที่จะแจกจ่ายให้เกษตรกร 2,823.20 ล้านบาท ค่าฝึกอบรมเกษตรกรตลอดโครงการ 800 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการโครงการ 351.36 ล้านบาท ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)

                              http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280957353&grpid=01&catid=no
--
http://www.classifiedthai.com/event_view.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น